MainMenu MagazineDetail

เรามักจะได้ยินผู้นำทางการเมืองพูดถึงปัญหาต่าง ๆ เสมอว่า ต้องมีการปฏิรูปอย่างเป็นระบบ มานับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าใน ยุคใด ไม่ว่าในเรื่องการศึกษา ในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมือง แต่เรามักจะไม่ค่อยได้ยินคำนี้ จากในสังคมของ ประเทศญี่ปุ่นมากนัก ถ้าไม่เจอกับปัญหาหนัก ๆ จริง ๆ เพราะว่า การปฏิรูปนั้นเป็นเรื่องยาก ละเอียดอ่อน ใช้เวลา นาน และมีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวสูง เพราะต้องลงทุน สูง และเผชิญกับการต่อต้าน ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิรูป หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ จึงควรจะมีการปรับปรุงเล็ก ๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่อง จึงมีคำว่าไคเซ็นเกิดขึ้น เราเองมักจะ ใจร้อนที่ต้องการให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ให้เกิดขึ้นในฉับพลัน โดยที่ตนเองไม่ต้องลงทุนทำอะไรเลย จึงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้เลย ดังเช่นตัวอย่างที่ เราได้เห็นในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นทั้งในด้านการใช้ชีวิต หรือการผลิต การทำ ธุรกิจ มีการปรับปรุงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นเสมอ จึงจะเห็นได้ ว่าจากการไคเซ็นต่าง ๆ ดังกล่าว เกิดสินค้าที่มีไอเดียแปลก ๆ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพราะเวลาจะไคเซ็น เราจะมองจุด ที่เป็นจุดย่อย ที่เรียกว่า Warm eye view ดัดแปลงบาง อย่างเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ แต่ หากจะปฏิรูป ก็จะมองภาพกว้าง ที่เรียกว่า Bird eye view ซึ่งมองเห็นภาพโครงสร้างโดยรวม แต่ไม่สามารถมองเห็น จุดย่อยรายละเอียดได้ จึงทำให้แก้ไขได้ไม่ถึงแก่นแท้ของ ปัญหา