หน้าหลัก
หนังสือ
ขุนศึก : ฉบับ 100 ปี นักเขียนไทย เล่ม 4
บาร์โค้ด
เลขหนังสือ
สถานะ
00033497
นว ม962ข 2548
อยู่บนชั้นวาง
เพิ่มลงชั้นวาง
คุณต้องการที่จะเพิ่มรายการนี้ไปยังชั้นวางของคุณใช่หรือไม่?
รายการจอง
นิยายเรื่องนี้ มี เค้าโครงเรื่อง สมัยอยุธยาเป็นราชธานีไทย หนึ่ง. จากลูกช่างตีดาบ สู่ขุนศึกพิทักษ์องค์มหาราชา หนึ่ง. นักรบอหังการ ผู้เกรียงไกรแห่งหน่วยทะลวงฟัน . วันหมอกหนาพรางตา ของป่าเมืองแครง ตกเข้าเดือน ๖ ปีวอก พุทธศักราช ๒๑๒๗ ก่อนวันประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าบุเรงนองวางอุบายหมายลอบปลงพระชนม์ ซึ่งยังความโทมนัสให้แก่สมเด็จพระนเรศวรอย่างมาก เมื่อจาตุรงคบาทนักรบประกบฝีเท้าช้างคนหนึ่ง ต้องพลีชีพเพื่อพระองค์ในกาลนี้ แผ่นดินกรุงศรีหลังประกาศอิสรภาพจึงพร้อมประจัญกับทัพหงสาวดีทุกเมื่อ เสมา ลูกชายช่างตีดาบ ซึ่งเดินทางกลับจากเรียนวิชาดาบกับอาจารย์ ขุน ผู้หวังเพียงไถ่หนี้จำนองบ้าน โดยการตีดาบขาย แต่ด้วยหนทางที่เลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเข้าประลองแข่งขันในการหาจาตุรงคบาทคนใหม่ ความที่มีฝีมือดาบอันโดดเด่น จนได้รับตำแหน่งครูฝึกทหารในเรือน ขุนราม แต่นั่นถือเป็นการหยามศักดิ์ศรีของ หมู่ขัน หัวหมู่ทะลวงฟันนายทหารเอกของกรุงศรีผู้ถือในศักดิ์และฝีมือของตนซี่งทำหน้าที่นี้มาก่อน แต่ติดที่ต้องไปประจำการที่ด่านหน้า จึงเหลือไว้เพียงความไม่พอใจในตัวลูกช่างตีดาบคนนี้ รอวันที่จะได้ตัดสินกันอย่างแท้จริง อีกทางหนึ่ง เรไร หญิงงามลูกสาวของขุนรามและคู่หมั้นหมายของ หมู่ขัน ซึ่งเป็นการหมั้นโดยบิดา มิได้เกิดจากการต้องการของ เรไร เลยกระทั่งได้พบชายหนุ่มผู้มีหัวใจนักรบอย่างเสมาเข้า ด้วยเกียรติที่ถูกหยามจึงจับ จำเรียง น้องสาวของเสมา ไปขัดคอก ในคืนนั้นเอง เสมา และเพื่อน คือ สิน กับ สมบุญ บุกเรือนหมู่ขัน เพื่อชิงตัวจำเรียง แต่ก็เพลี่ยงพล้ำต่ออุบายของหมู่ขัน ทำให้สมบุญถูกจับ เสมากับสินต้องหนีไปเข้ากองโจรของ ขุนรณฤทธิ์พิชัย พร้อมกับหมู่ขันที่ประกาศว่าเสมาเป็นกบฎ ขณะที่อยู่กับพวกกองโจรเสมา และกลุ่มกองโจรช่วยกันสกัดทัพหน้าของพม่าที่บุกเข้ามา ครั้งหนึ่งเสมาได้มีโอกาสได้เข้าช่วยพระเอกาทศรถในการศึก และได้ลดโทษไปเป็นตะพุ่นเลี้ยงช้าง ที่ซึ่งเสมาได้เรียนรู้ถึงหัวใจของนักรบ จนกระทั่งได้ทราบข่าวการยกทัพมาครั้งใหญ่ของพม่า จึงรุดเข้าสนามรบและได้ตัดสินใจเข้ารบ เมื่อทนเห็นทหารไทยถูกเข่นฆ่าอีกไม่ได้ กระทั่งสามารถฆ่าแม่ทัพพม่าลงได้ มีความดีความชอบกลับมาและได้เข้าประลองกับหมู่ขัน ที่หน้าพระที่นั่งการประลองซึ่งเป็นการบรรจบกันของหนทางที่แตกต่างแห่งนักรบทั้งสอง ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียวที่คู่ควรกับตำแหน่งจาตุรงคบาทนักรบประกบฝีเท้าช้างของสมเด็จพระนเรศวร ในการศึกยุทธหัตถีครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างกษัตริย์สองแผ่นดิน
ลบความคิดเห็น
คุณแน่ใจหรือไม่ว่าต้องการที่จะลบความคิดเห็นนี้?
ความคิดเห็น
กรุณาให้คะแนนสำหรับหนังสือนี้
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้